สามสำนักมหาอำนาจ หรือซังบุเกียว (ภาษาญี่ปุ่น:
ผู้แทนของสามสำนักมหาอำนาจจะมาประชุมกันที่ปราสาทเทนชูคาคุ เพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาประเทศ องค์หญิง Kamisato Ayaka กล่าวว่าเมื่อใดก็ตามที่สำนัก Yashiroพยายามออกมติเพิกถอนคำสั่งล่าวิชั่น อีกสองหน่วยงานทั้งสำนัก Tenryou และสำนัก Kanjouจะใช้สิทธิยับยั้งมติอย่างทันควัน ซึ่งหมายความว่าสามสำนักมหาอำนาจมีระบบบริหารอย่างสภาหรือองคมนตรีที่ต้องมีการนำเสนอญัตติให้ผ่านเสียก่อน และทั้งสามสำนักมหาอำนาจจะไม่สามารถยื่นความเห็นโดยตรงต่อพระนาง Baal ได้ ระบบนี้มีความคล้ายคลึงกับเฮียวโจชู (ภาษาญี่ปุ่น: 評定衆) ซึ่งเป็นส่วนบริหารประเทศสูงสุดในยุคสมัยของรัฐบาลโทกุกาวะ และทำหน้าที่เป็นสภารวมข้าราชการกระทรวงสำคัญๆทั้งหมด
สามสำนักมหาอำนาจ[]
ชื่อหน่วยงาน | ตระกูลนำหน่วยงาน | ข้าหลวงใหญ่ | ความรับผิดชอบ |
---|---|---|---|
สำนัก Tenryou | ตระกูล Kujou | คุโจ ทากะยูกิ | ฝ่ายกลาโหมแห่งอินาสึมะ ควบคุมงานกองทัพและงานตำรวจ บังคับใช้ คำสั่งล่าวิชั่น บังคับใช้ กฎ Sakoku (แก่ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย) |
สำนัก Kanjou | ตระกูล Hiiragi | ฮิรางิ ชินสึเกะ | ฝ่ายการคลังแห่งอินาสึมะ บริหารงบประมาณประเทศ กำกับดูแลชายแดนอินาสึมะ บริหารกิจการค้าขายและราชการ[1] บังคับใช้ กฎ Sakoku (แก่ผู้เข้าเมืองถูกกฎหมาย) |
สำนัก Yashiro | ตระกูล Kamisato | คามิซาโตะ อายาโตะ | กระทรวงวัฒนธรรมแห่งอินาสึมะ รับผิดชอบงานพิธีกรรม งานเฉลิมฉลอง และเทศกาลพื้นบ้าน ดูแลงานศาลเจ้าและวิหาร ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดในพระนางบาอัลที่สุด |
อ้างอิง[]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อหนทางฝ่าพายุ
หน้าอื่น ๆ[]
|